“ลังกาสุกะ” คือ ดินแดนที่มีอาณาจักรโบราณอายุกว่า 1,900 ปี ตั้งอยู่บนคาบสมุทรแหลมมลายู และเชื่อได้ว่ามีศูนย์กลางของของความรุ่งเรื่องอยู่สามจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย หมายถึง จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส พื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ และศาสนา เกิดจากการที่มีผู้คนจากที่ต่าง ๆ เดินทางเข้ามาค้าขายในดินแดนแห่งปลายด้ามขวานของไทยเคยเป็นท่าเทีบเรือขนาดใหญ่มีการแลกเปลี่ยนสินค้า เกิดเป็นประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดนายรณภพ นพสุวรรณ นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นำเสนอผลงานวิจัยระดับดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้” งานวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการส่งเสริมกิจกรรมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.จันทิมา เขียวแก้ว เป็นอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย โดยทำการสำรวจสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลในท้องถิ่นและสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยทั่วประเทศ
นายรณภพ นพสุวรรณ นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเจ้าของผลงานวิจัย เปิดเผยว่า “จากการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยทั่วประเทศ จำนวน 1348 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยรู้จักหรือเคยได้ยิน คำว่า ลังกาสุกะ จำนวน 942 คน คิดเป็นร้อยละ 69.90 และรู้ว่าดินแดนนแห่งนี้เคยเป็นเมืองท่าเทียบเรือขนาดใหญ่มีอายุยาวนานมากกว่า 1900 ปี จำนวน 614 คน คิดเป็นร้อยละ 45.50 ด้านประสบการณ์การท่องเที่ยวสามจังหวัดชายแดนใต้พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เคยไปมาก่อน จำนวน 785 คน คิดเป็นร้อยละ 58.25 แต่สิ่งที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รับรู้เรื่องราวของสามจังหวัดชายแดนใต้มากที่สุดเรื่องมีสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติสวยงาม จำนวน 850 คน คิดเป็นร้อยละ 63.10 รองลงมา มีข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบ การก่อการร้ายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 731 คน คิดเป็นร้อยละ 54.20 และน้อยที่สุดเรื่อง เทศกาลสำคัญทางศาสนา / วัฒนธรรม จำนวน 731 คน คิดเป็นร้อยละ 54.20 ด้านการการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในสามจังหวัดชายแดนใต้มากที่สุด คือสื่อออนไลน์ จำนวน 805 คน คิดเป็นร้อยละ 66.9 สื่อออนไลน์ที่ผู้ตอบแบบสอบถามนิยมใช้ได้แก่ ยูทูป (YouTube) จำนวนอย่างละ 641 คน คิดเป็นร้อยละ 45.50 รองลงมาเป็นช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่สำคัญเมนูอาหารลังกาสุกะ จำนวน 10 เมนู ได้แก่ ซอเลาะ ลาดอ , นาซิตาแฆ , ข้าวยำบูดู , ดูปะซูตง , ตูปะ , ปูตูฮาลีบอ , อาเก๊าะ , โก๊ปีออ และ แตตาแระ จากผลการการวิจัยพบว่าเมนูที่นักท่องเที่ยวอยากลองรับประมานมากที่สุด คือ เมนูเครื่องดื่มแตตาแระ (ชาชัก) รองลงมา คือ ไก่ย่างฆอ”
“ด้านการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้พบว่า มีการจัดทำหนังสือตำราอาหาร เครื่องเทศ หนังสือเรื่อง ตำรับอาหารจังหวัดปัตตานี (Pattani Heritage Recipes) หนังสือเรื่อง ร้อยเมนู ร้อยเรื่องราว เมืองตานีเมื่อวันวาน (Pattani Heritage Recipes) หนังสือเรื่อง ปัตตานี วิถีอาเซียน (Pattani The Asean Way of Species) และ หนังสือ พืชสมุนไพร ปัตตานี (Pattani Herbs Book) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป นอกจากนี้หน่วยงานรายการในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ นิยมใช้สื่อออนไลน์ เช่น เฟชบุ๊ก (Facebook) หรือเว็บไซต์ (website) เป็นช่องทางการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมมากกว่าการนำเสนอเรื่องอาหารท้องถิ่น เช่นเดียวกับกับผู้สร้างสรรค์เนื้อหา (Content creator) ส่วนใหญ่พบว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางการสื่อสาร (Influencer) เป็นคนในพื้นที่ปัตตานี ยะลา แลนะนราธิวาส นิยมใช้สื่อออนไลน์ เช่น เฟชบุ๊ก หรือเว็บไซต์ เช่นเดียวกันกับหน่วยงานราชการนิยมนำเสนอเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว วิถีชีวิต วัฒนธรรม สอดแทรกเรื่องของอาหารไปกับเนื้อหาหลัก เช่น แวรุงไปไหน นราธิวาสบ้านฉัน MUSLIMTED หรือ PATANI NOTES เชิงอรรถ ปตานี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลในท้องถิ่นรวม 23 คน เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐ สมาคมธุรกิจ และปราชญ์ชาวบ้านตลอดจนนักวิชาการด้านอาหารท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนใต้ ทำให้รู้ว่าอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเกิดมาจากถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาความรู้ที่ได้รับมาจากผู้คนที่เดินทางเข้ามายังดินแดนลังกาสุกะและเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นจนเกิดเป็นอัตลักษณ์อาหารที่มีนำความรู้การใช้เครื่องเทศจากอินเดีย จนเกิดเป็นอาหารที่อัตลักษณ์เฉพาะตัวมีกลิ่นหอมจากเครื่องเทศที่มีอยู่ในอาหารคาวและขนมหวาน หรือการใช้เครื่องทองเหลืองทำให้อาหารสุกแบบโปรตุเกส และการใช้มะพร้าวเพิ่มรสสัมผัสความข้นมันจากกะทิ และรสหวานจากน้ำตาลมะพร้าว เกิดเป็นรสชาติอัตลักษณ์และเมนูแบบสามจังหวัดชายแดนใต้ การภูมิปัญญาดั้งเดิมไว้จากกรรมวิธีการปรุง การใช้วัตถุดิบ เช่น เกลือหวานปัตตานี หรือบูดูเครื่องปรุงรสที่เกิดจากภูมิปัญญาการถนอมอาหารที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ” นายรณภพ กล่าวทิ้งท้าย
ขอขอบคุณ: eduzones.com
อ่านต่อได้ที่: https://www.eduzones.com/2022/10/31/utcc-marcom/