คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลวิจัย “โควิด – 19” เกินครึ่งเครียดเสี่ยงตกงาน เชื่อหลังกรกฎาคมนี้ สถานการณ์ดีขึ้น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลักสูตรนิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ร่วมกับ เครือข่ายการวิจัยประชามติแห่งเอเชีย (ANPOR) สำรวจพฤติกรรม “การเปิดรับข่าวสารและการรู้เท่าทันสื่อ ความรู้ และการปฏิบัติตนในการป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ของประชาชนไทย” ระหว่างวันที่ 17 – 27 เมษายน 2563 ต่อสถานการณ์การระบาดครั้งนี้ ทั้งหมด 3,277 คน ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
แบ่งตามอายุ ช่วงวัย อาชีพและรายได้ของผู้ตอบแบบสอบถาม ผลการวิจัยภาพรวมพบประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ ประชาชานเปิดรับข้อมูลข่าวสารโควิด – 19 ผ่านสื่อช่องทางใดบ้าง , ผลกระทบต่อรายได้จากการแพร่ระบาดของโควิด – 19 , ผลกระทบต่อความกังวลความเครียดจากสถานการร์โรคระบาดและความคิดเห็นการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดโควิด – 19 ครั้งนี้
รศ.ดร.จันทิมา เขียวแก้ว ประธานเครือข่ายการวิจัยประชามติแห่งเอเชีย และที่ปรึกษาหลักสูตร ป.เอก สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “จากผลการสํารวจประชาชนทั้งหมด 3,277 คน ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเปิดรับข้อมูลข่าวสารโควิด – 19 จากเฟซบุ๊คมากที่สุด ร้อยละ19.6 รองลงมาวิทยุโทรทัศน์ ร้อยละ 17.6 ไลน์(line) ร้อยละ14.1 น้อยที่สุด คือ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 2.9 ยังพบว่ากลุ่มข้าราชการและผู้ที่ได้รับเงินเดือนประจํา มีความเครียดแต่สามารถปรับตัวได้ร้อยละ 43.5
ในขณะที่กลุ่มรับจ้างและผู้ที่ไม่มีรายได้ประจําที่มีผลกระทบโดยตรงต่อความเครียด ร้อยละ 56.5 แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ตกงานทันทีร้อยละ 17.4 รองลงมารายได้ลดลง 25 เปอร์เซนต์ ร้อยละ 14.6และรายได้ลดลง 50 เปอร์เซนต์ คิดเป็นร้อยละ 14.3 และกลุ่มที่รายได้ลดลง 75 เปอร์เซนต์ คิดเป็นร้อยละ 10.2 ที่สำคัญความกังวลจากผลกระทบการระบาดต่อการทํางานและอาชีพ พบว่า ร้อยละ 45.7 ประชาชนเชื่อมั่นว่า การทํางานที่บ้าน การเรียนหนังสือออนไลน์ ช่วยแก้ปัญหาการแพร่กระจายของโรคได้ มีเพียงกลุ่มตัวอย่างร้อย ละ 8.0 ที่มีความเครียดต่อผลกระทบของการระบาดในครั้งนี้
เพราะมีผลต่อการทํางานอย่างมาก โดยร้อยละ 13.0 ระบุว่ามีผลกระทบต่องาน โดยร้อยละ 6.5 คิดว่าการขยายเวลา Lockdown ไปอีก 1 เดือน จะทําให้สถาน ประกอบการที่ตนทํางานอยู่จะต้องปิดกิจการทันทีและตกงาน และร้อยละ 6.5 เท่ากัน เกรงว่าที่ทํางานอาจจะ ปิดกิจการและตนถูกลดเงินเดือน นอกจากนี้ประชาชนมีความกังวลต่อทักษะความสามารถการทํางาน พบว่า ร้อยละ 21.7 มองว่าจะทําให้ทักษะความเชี่ยวชาญการทํางานลดลง เนื่องจากห่างหายจากการใช้เครื่องมือ และความสมํ่าเสมอในอุปกรณ์”
ดร.ทัศนีย์ เกริกกุลธร ผู้ช่วยอธิการบดี สถาบันบรมราชชนกและผู้อํานวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดสระบุรี กล่าวว่า “ภาพรวมของโครงการว่า การสํารวจครั้งนี้เป็นความร่วมมือของนักวิชาการจาก 3 สถาบัน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์มี ผู้ตอบแบบสํารวจจํานวน 3,277 คน จากทุกจังหวัด ผลวิจัยชี้ว่าการระบาดของไวรัศโคโรน่าส่งผลกระทบต่อความกังวลและความเครียด ผลการสํารวจชี้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถปรับตัวและทําใจได้พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.2 สามารถจัดการกับความเครียดและปรับตัวกับ สถานะการณ์ครั้งนี้ได้
รองลงมาร้อยละ 13.6 ไม่เครียดไม่กังวลใจเพราะมองว่าจะได้มีเวลาสงบจิตใจมากขึ้น และร้อยละ 12.4 ยังมีความสุขจากการใช้ชีวิตประจําวัน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเพราะสามารถบริหาร เวลาที่มีอยู่กับครอบครัว มีเวลาทําในสิ่งที่สนใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด – 19 ในอีก 3 เดือนข้างหน้าหรือภายหลังเดือนกรกฏาคม 2563 พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.7 คิดว่าภาครัฐสามารถควบคุมได้ดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 25.7 คิดว่าควบคุมได้ดีมากจนเป็นที่น่าพอใจ และมีเพียงร้อยละ 1.6 มองว่าควบคุมไม่ได้หรือสถานการณ์แย่ลงไปกว่าเดิม
หัวหน้าการทำโครงการวิจัยครั้งนี้มีความเห็นว่าหากรัฐบาลใช้มาตรการ Partial Lockdown ผ่อนปรนมาตรการบังคับบางประการ น่าจะช่วยให้ประชาชนมีระดับความเครียดน้อยลงเรื่องของการตกงานและรายได้ แต่อย่างไรก็ตามมาตรการผ่อนคลายจากการล็อคดาวน์อาจจะยังไม่ครอบคลุมในอีกหลากหลายอาชีพ เพื่อลดความเครียดและสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน การผ่อนปรนกลุ่มอาชีพดังต่อไปนี้ เช่น กลุ่มอาชีพธุรกิจร้านอาหารและการบริการในห้างสรรพสินค้า กลุ่มงานบริการรับจ้าง กลุ่มท่องเที่ยว สายการบิน โรงแรม เป็นต้น ต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษามาตรการควบการการแพร่ระบาดให้อยู่ในการควบคุมได้ดีอย่างต่อเนื่องต่อไป
ขอขอบคุณ : เดลินิวส์ https://www.dailynews.co.th/article/772670